‘Law school taught me one thing:  how to take two situations that are exactly the same and show how they are different’

– Hart Pomerantz

ปณิธาน

มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตทางนิติศาสตร์ที่เพียบพร้อมด้วยความรู้ในทางวิชาการและวิชาชีพ และยึดมั่นในจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายที่มีความรับผิดชอบ

พันธกิจ

ผลิตบัณฑิตและวิจัยโดยพัฒนาองค์ความรู้ทางนิติศาสตร์และศึกษาวิจัยรวมทั้งให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมโดยมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้  มุ่งถ่ายทอดความรู้ทางนิติศาสตร์โดยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้นักศึกษามีความเป็นนักนิติศาสตร์ที่สามารถนำความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ  พร้อมทั้งหล่อหลอมคุณธรรมและจริยธรรมแก่นักศึกษาเพื่อให้มีจิตสำนึกที่รับผิดชอบต่อสังคมรวมทั้งจะส่งเสริมและธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ

วิสัยทัศน์

สร้างนักกฎหมายที่มีคุณธรรม จริยธรรม  และความรู้ที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวมถึงสถานการณ์ต่าง ๆในยุคโลกาภิวัตน์  โดยสามารถนำคุณความดีและความรู้ที่ได้สั่งสมไว้ไปสร้างสรรค์สังคมที่ดีบนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ประชาชน ประเทศชาติ และสังคมทุกหมู่เหล่าที่เข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือระดับนานาชาติ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์
จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจตามจุดเน้นของรายวิชา และให้นำไปปรับใช้ได้

 

และมีประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านวิชาการและการปฏิบัติของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายเช่นกัน
PLO มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การประเมินผล
PLO 1 ประยุกต์ความรู้กฎหมายร่วมกับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบวิชาชีพนักกฎหมายผ่านกระบวนการความคิดอย่างเป็นระบบ ด้านความรู้ -Guided lecture ผู้สอนบรรยายองค์ความรู้

และผู้เรียนจดบันทึก โดยผู้สอนแนะนำแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน

-Students’ Reflection ผู้เรียนสะท้อนความคิด โดยสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ และนำเสนอเกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากการเรียน รวมถึงถามคำถามที่ยังสงสัย

-Think – Pair – Share ผู้สอนตั้งคำถามให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบด้วยตนเอง ให้ทำแบบฝึกหัด และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในชั้นเรียน

-Clarification Pause ให้เวลาผู้เรียนตกผลึกความคิดในประเด็นที่สำคัญ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามหากต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม

-Problem/Project-based Learning หรือ Case Study ใช้เรื่องจริงที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์และหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการบูรณาการความรู้ที่ได้เรียนกับประสบการณ์ตรงหรือสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติ

-การสอบข้อเขียน (Written examination)

-การสอบถาม (Oral Test)

-การประเมินจากการนำเสนอผลงาน (presentation)

-การประเมินจากแบบฝึกหัดหรือรายงาน (Report/Project assessment)

-การสังเกตพฤติกรรม (Behavior observation)

PLO 2 สามารถให้บริการกฎหมายได้อย่างถูกต้องตามหลักนิติธรรมและนิติวิธี ด้านความรู้, ด้านทักษะ -Role Playing ให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน ฝึกวางแผน และแสดงออกตามสถานการณ์เสมือนจริงที่กำหนดให้ เพื่อสร้างประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และการทำงานร่วมกัน

-Case Study ใช้เรื่องจริงที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์และหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการบูรณาการความรู้ที่ได้เรียนร่วมกับการเสาะหาความรู้เพิ่มเติม

-การศึกษาดูงาน/ฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง

-การสอบข้อเขียน (Written examination)

-การสอบถาม (Oral Test)

-การประเมินจากการนำเสนอผลงาน (presentation)

-การประเมินจากแบบฝึกหัดหรือรายงาน (Report/Project assessment)

-การสังเกตพฤติกรรม (Behavior observation)

PLO 3 ประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่โดยเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนและปฎิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ด้านจริยธรรม -สอดแทรกการปลูกฝังคุณลักษณะที่เหมาะสมในทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ผ่านการแก้ปัญหา หรือสถานการณ์ในชุมชน สังคม และวิกฤตของประเทศในบริบทของความเป็นไทย ด้วยการอภิปรายระดมความคิด และบทบาทสมมติ -ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างการเรียนการสอน การทำกิจกรรม ผลงาน และการนำเสนอผลงาน
PLO 4 สื่อสารและนำเสนอโดยใช้ภาษากฎหมายที่เหมาะสม ใช้ภาษาที่บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ง่าย ด้านทักษะ, ด้านลักษณะบุคคล -จัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน

-ให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนได้นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าผ่านการพูดและการเขียนทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล

-ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน ในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเพื่อสื่อสารความรู้ความคิดของตนเอง

-ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย การอภิปรายกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอด้วยการ พูดและ/หรือการเขียน

PLO 5 พัฒนาตนเองสามารถค้นคว้าหาความรู้กฎหมายเพิ่มเติมโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต ด้านทักษะ -Think – Pair – Share ผู้สอนตั้งคำถามจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นจริงในสังคม(Case Study)ให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบด้วยตนเอง และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในชั้นเรียน

-เน้นให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ ฝึกการวิเคราะห์ข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ เช่น บทความ ตัวเลข สถิติ ผังกราฟิก และอื่น ๆ รวมทั้งฝึกให้มีการเลือกใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมและมีวิจารณญาณ สามารนำความรู้มาประยุกต์ในการแก้ปัญหาได้

การสอบถาม (Oral Test)

-การสอบทักษะ (Skills examination)

-การประเมินจากการนำเสนอผลงาน (presentation) หรือจากแบบฝึกหัดหรือรายงาน (Report/Project assessment)

-การสังเกตพฤติกรรม และการประเมินจากผลสะท้อนในการทำงานร่วมกัน (Assessment of result of team-work effort)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) ได้จากการรวบรวมข้อมูล

1. โดยวิธีการซักถามและใช้แบบสอบถาม

2. จากผู้ใช้บัณฑิตและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัณฑิต กล่าวคือ

– ศาลยุติธรรม เนติบัณฑิตยสภา สำนักงานกิจการยุติธรรม /ผู้พิพากษา ,นิติกร

– สำนักงานอัยการ /พนักงานอัยการ

– สภาทนายความแห่งประเทศไทย /ทนายความ

– องค์กรปกครองส่วนภูมิภาค/ปลัดอำเภอ

– องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/นายก อบจ.

– หน่วยงานเอกชน /ที่ปรึกษากฎหมาย, ผู้ประกอบการธุรกิจ

ทางเลือกภายหลังสำเร็จการศึกษา

1.ผู้พิพากษา/อัยการ (ต้องสอบไล่ได้เนติบัณฑิตจึงจะมีสิทธิสมัครทดสอบความรู้กับ สำนักงานคณะกรรมการตุลาการ ศาลยุติธรรมเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ ในตำแหน่งผู้พิพากษา/ตุลาการ)

2.อัยการ (ต้องสอบไล่ได้เนติบัณฑิตจึงจะมีสิทธิสมัครทดสอบความรู้กับสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ)

3.ทนายความ (ต้องผ่านการอบรมและทดสอบความรู้กับสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับใบอนุญาตว่าความ)

4.ผู้สอนในสถานศึกษา

5.ที่ปรึกษากฎหมาย/นิติกรในองค์กรทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ

6.ประกอบธุรกิจ/อาชีพอิสระ

7.รับราชการหรือทำงานบริษัทเอกชนในสาขาวิชานิติศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

8.ศึกษาต่อทางด้านเนติบัณฑิตและระดับปริญญาโททางด้านนิติศาสตร์หรือศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง

คณาจารย์

คณาจารย์

ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง   คณบดี อาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ   รองคณบดี อาจารย์ลัดดาวัลย์ อุทัยนา   ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และหัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน อาจารย์ณัฏฐวี ดีมา   หัวหน้าภาควิชากฎหมายอาญา อาจารย์จุฬา จงสถิตย์ถาวร   หัวหน้าภาควิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์   อาจารย์ประจำ อาจารย์เมธาวี บัวสมบูรณ์   อาจารย์ประจำ อาจารย์วิทิต แสงพิทักษ์   อาจารย์ประจำ อาจารย์วุฒิ ศรีธีระวิศาล   อาจารย์ประจำ คุณปัทมา    เมฆลอย   เจ้าหน้าที่ประจำคณะนิติศาสตร์ คุณนันทิตา อุดมวรรณชัย   เจ้าหน้าที่ประจำคณะนิติศาสตร์  

ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมหมาย จันทร์เรือง คณบดี ข้อมูลส่วนตัว วัน/เดือน/ปีเกิด วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2491 สถานที่เกิด กรุงเทพมหานคร ภูมิลําเนาปัจจุบัน บ้านเลขที่ 162/4 ซอยอนันตภูมิ ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกใหญ่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ (02) 465-9754, (086) 835-7425 การศึกษา ประวัติการศึกษา ปริญญาตรี 11 สาขา นิติศาสตร์บัณฑิต พ.ศ. 2514 จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครุศาสตรบัณฑิต (การมัธยมศึกษา) พ.ศ. 2520 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) พ.ศ. 2526 จากมหาวิทยาลัยรามคําแหง ศึกษาศาสตรบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) พ.ศ. 2526 จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นิเทศศาตรบัณฑิต (การผลิตหนังสือพิมพ์) พ.ศ. 2531 จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช […]

อาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ

อาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติรองคณบดีE-mail: ekachai.cha@siam.edu การศึกษา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขากฎหมายและการทูตFletcher School of Law and Diplomacy (เมสซาชูเซสส์, สหรัฐอเมริกา) นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายเปรียบเทียบมหาวิทยาลัยมิชิแกน (มิชิแกน, สหรัฐอเมริกา) นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยอเมริกัน (วอชิงตันดีซี, สหรัฐอเมริกา) นิติศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย)

อาจารย์ลัดดาวัลย์ อุทัยนา

อาจารย์ลัดดาวัลย์ อุทัยนาผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และหัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน การศึกษา เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) ใบอนุญาตว่าความสำนักอบรมวิชาว่าความสภาทนายความ (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชนมหาวิทยาลัยรามคำแหง (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย)  

อาจารย์ณัฏฐวี ดีมา

อาจารย์ณัฏฐวี ดีมาหัวหน้าภาควิชากฎหมายอาญา การศึกษา ๒๕๔๓-๒๕๔๗     นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) ๒๕๓๙-๒๕๔๒     นิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย)

อาจารย์ยุทธนา ศรีสวัสดิ์

อาจารย์ยุทธนา ศรีสวัสดิ์อาจารย์ประจำ E-mail : yutthana.sri@siam.edu   การศึกษา ๒๕๕๑-๒๕๕๒     นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายภาษีอากร มหาวิทยาลัยเซาท์เธิร์นเมโธดิส (เท็กซัส, สหรัฐอเมริกา) ๒๕๕๐-๒๕๕๑     ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการทูตและการต่างประเทศ หลักสูตรนานาชาติมหาวิทยาลัยรังสิต (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) ๒๕๔๕-๒๕๔๙    นิติศาสตรบัณฑิต (สอบได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)มหาวิทยาลัยสยาม (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย)  

อาจารย์วิทิต แสงพิทักษ์

อาจารย์วิทิต แสงพิทักษ์อาจารย์ประจำ   การศึกษา นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มหาวิทยาลัยธุรกิจ (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) นิติศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) ผลงานวิทยานิพนธ์เรื่อง อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ศึกษากรณี: การพนันผ่านทางอินเทอร์เน็ตคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (รุ่น121)  

อาจารย์เมธาวี บัวสมบูรณ์

อาจารย์เมธาวี บัวสมบูรณ์อาจารย์ประจำ E-mail: methawee.bua@siam.edu   การศึกษา ๒๕๕๖ นิติศาสตรมหาบัณฑิต  สาขากฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอ็กซ์ มาร์เซย (ประเทศฝรั่งเศส) ๒๕๕๑ นิติศาสตรมหาบัณฑิต  สาขากฎหมายธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) ใบอนุญาตว่าความสำนักอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความ (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) ๒๕๔๙ นิติศาสตรบัณฑิต (สอบได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)มหาวิทยาลัยสยาม (กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย) หลักสูตรภาคฤดูร้อน๒๕๔๓ หลักสูตรภาษาอังกฤษ ณ เมืองแคนเทอร์เบอร์รี่ ประเทศสหราชอาณาจักร