‘Law school taught me one thing: how to take two situations that are exactly the same and show how they are different’
– Hart Pomerantz
PLO | มาตรฐานการเรียนรู้ | การจัดการเรียนรู้ | การประเมินผล |
PLO 1 ประยุกต์ความรู้กฎหมายร่วมกับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบวิชาชีพนักกฎหมายผ่านกระบวนการความคิดอย่างเป็นระบบ | ด้านความรู้ | -Guided lecture ผู้สอนบรรยายองค์ความรู้
และผู้เรียนจดบันทึก โดยผู้สอนแนะนำแหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน -Students’ Reflection ผู้เรียนสะท้อนความคิด โดยสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ และนำเสนอเกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากการเรียน รวมถึงถามคำถามที่ยังสงสัย -Think – Pair – Share ผู้สอนตั้งคำถามให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบด้วยตนเอง ให้ทำแบบฝึกหัด และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในชั้นเรียน -Clarification Pause ให้เวลาผู้เรียนตกผลึกความคิดในประเด็นที่สำคัญ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามหากต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม -Problem/Project-based Learning หรือ Case Study ใช้เรื่องจริงที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์และหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการบูรณาการความรู้ที่ได้เรียนกับประสบการณ์ตรงหรือสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติ |
-การสอบข้อเขียน (Written examination)
-การสอบถาม (Oral Test) -การประเมินจากการนำเสนอผลงาน (presentation) -การประเมินจากแบบฝึกหัดหรือรายงาน (Report/Project assessment) -การสังเกตพฤติกรรม (Behavior observation) |
PLO 2 สามารถให้บริการกฎหมายได้อย่างถูกต้องตามหลักนิติธรรมและนิติวิธี | ด้านความรู้, ด้านทักษะ | -Role Playing ให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน ฝึกวางแผน และแสดงออกตามสถานการณ์เสมือนจริงที่กำหนดให้ เพื่อสร้างประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และการทำงานร่วมกัน
-Case Study ใช้เรื่องจริงที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์และหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการบูรณาการความรู้ที่ได้เรียนร่วมกับการเสาะหาความรู้เพิ่มเติม -การศึกษาดูงาน/ฝึกปฏิบัติในสถานที่จริง |
-การสอบข้อเขียน (Written examination)
-การสอบถาม (Oral Test) -การประเมินจากการนำเสนอผลงาน (presentation) -การประเมินจากแบบฝึกหัดหรือรายงาน (Report/Project assessment) -การสังเกตพฤติกรรม (Behavior observation) |
PLO 3 ประพฤติตนและปฏิบัติหน้าที่โดยเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนและปฎิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ | ด้านจริยธรรม | -สอดแทรกการปลูกฝังคุณลักษณะที่เหมาะสมในทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ผ่านการแก้ปัญหา หรือสถานการณ์ในชุมชน สังคม และวิกฤตของประเทศในบริบทของความเป็นไทย ด้วยการอภิปรายระดมความคิด และบทบาทสมมติ | -ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างการเรียนการสอน การทำกิจกรรม ผลงาน และการนำเสนอผลงาน |
PLO 4 สื่อสารและนำเสนอโดยใช้ภาษากฎหมายที่เหมาะสม ใช้ภาษาที่บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ง่าย | ด้านทักษะ, ด้านลักษณะบุคคล | -จัดการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
-ให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนได้นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าผ่านการพูดและการเขียนทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคล |
-ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน ในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเพื่อสื่อสารความรู้ความคิดของตนเอง
-ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย การอภิปรายกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอด้วยการ พูดและ/หรือการเขียน |
PLO 5 พัฒนาตนเองสามารถค้นคว้าหาความรู้กฎหมายเพิ่มเติมโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต | ด้านทักษะ | -Think – Pair – Share ผู้สอนตั้งคำถามจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นจริงในสังคม(Case Study)ให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบด้วยตนเอง และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในชั้นเรียน
-เน้นให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ ฝึกการวิเคราะห์ข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ เช่น บทความ ตัวเลข สถิติ ผังกราฟิก และอื่น ๆ รวมทั้งฝึกให้มีการเลือกใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสมและมีวิจารณญาณ สามารนำความรู้มาประยุกต์ในการแก้ปัญหาได้ |
การสอบถาม (Oral Test)
-การสอบทักษะ (Skills examination) -การประเมินจากการนำเสนอผลงาน (presentation) หรือจากแบบฝึกหัดหรือรายงาน (Report/Project assessment) -การสังเกตพฤติกรรม และการประเมินจากผลสะท้อนในการทำงานร่วมกัน (Assessment of result of team-work effort) |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) ได้จากการรวบรวมข้อมูล
1. โดยวิธีการซักถามและใช้แบบสอบถาม
2. จากผู้ใช้บัณฑิตและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบัณฑิต กล่าวคือ
– ศาลยุติธรรม เนติบัณฑิตยสภา สำนักงานกิจการยุติธรรม /ผู้พิพากษา ,นิติกร
– สำนักงานอัยการ /พนักงานอัยการ
– สภาทนายความแห่งประเทศไทย /ทนายความ
– องค์กรปกครองส่วนภูมิภาค/ปลัดอำเภอ
– องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/นายก อบจ.
– หน่วยงานเอกชน /ที่ปรึกษากฎหมาย, ผู้ประกอบการธุรกิจ
ทางเลือกภายหลังสำเร็จการศึกษา
1.ผู้พิพากษา/อัยการ (ต้องสอบไล่ได้เนติบัณฑิตจึงจะมีสิทธิสมัครทดสอบความรู้กับ สำนักงานคณะกรรมการตุลาการ ศาลยุติธรรมเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ ในตำแหน่งผู้พิพากษา/ตุลาการ)
2.อัยการ (ต้องสอบไล่ได้เนติบัณฑิตจึงจะมีสิทธิสมัครทดสอบความรู้กับสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ)
3.ทนายความ (ต้องผ่านการอบรมและทดสอบความรู้กับสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับใบอนุญาตว่าความ)
4.ผู้สอนในสถานศึกษา
5.ที่ปรึกษากฎหมาย/นิติกรในองค์กรทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ
6.ประกอบธุรกิจ/อาชีพอิสระ
7.รับราชการหรือทำงานบริษัทเอกชนในสาขาวิชานิติศาสตร์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
8.ศึกษาต่อทางด้านเนติบัณฑิตและระดับปริญญาโททางด้านนิติศาสตร์หรือศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง